Co-genaration

  • Published 2 year last on Oct 27, 2021

ระบบผลิตพลังงานร่วม CO-GENERATION

หลักการพื้นฐานของเทคโนโลยี

     ระบบ Cogeneration คือการผลิตพลังงาน 2 รูปแบบได้แก่ พลังงานไฟฟ้า กระแสไฟฟ้าและพลังงานความร้อน (ไอน้ำ, อากาศร้อน) จากแหล่งเชื้อเพลิงชนิดเดียวในระบบ Cogeneration ประกอบด้วย Gas Turbine, Generator และ Heat Recovery เมื่อก๊าซธรรมชาติถูกนำเข้า Gas Turbine เพื่อผ่านการจุดระเบิดให้เกิดแรงดันอากาศร้อนไปขับตัว Turbine การหมุนของ Turbine จะส่งไปยัง Generator เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า ก๊าซฯที่ปล่อยออกมามีอุณหภูมิประมาณ 370-550องศา สามารถนำไปให้ความร้อนโดยตรง นับว่าเพิ่มประสิทธิภาพ สูงถึง 90% และลดต้นทุนในการผลิต ทั้งยังเป็นระบบที่มีความมั่นคง 

         ระบบผลิตพลังงานที่ใช้ตามโรงงานอุตสาหกรรมทั่วไป จะผลิตเฉพาะพลังงานความร้อนเป็นส่วนใหญ่ ส่วนพลังงานไฟฟ้าจะซื้อจากการไฟฟ้าฯแต่ถ้าใช้ระบบโคเจนเนอเรชั่น จะใช้เชื้อเพลิงชนิดเดียวในการผลิตพลังงานความร้อนและไฟฟ้าใช้เองโดยถ้าออกแบบให้เหมาะสมกับความต้องการของโรงงานทั้งด้านความร้อนและไฟฟ้า ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายพลังงานได้อย่างมาก อีกทั้งยังช่วยเพิ่มเสถียรภาพของระบบไฟฟ้าอีกด้วยซึ่งจะส่งผลถึงคุณภาพของผลผลิตจากโรงงาน โดยสามารถแบ่งประเภทของระบบโคเจนเนอเรชั่นได้ 2 ประเภท คือ

  1. ระบบโคเจนเนอเรชั่นวัฏจักรบน คือ ระบบที่ใช้เชื้อเพลิงไปผลิตไฟฟ้าก่อนโดยใช้ไอน้ำหรือก๊าชความร้อนและความดันสูงแล้วจึงใช้ไอน้ำหรือก๊าซร้อนความดันต่ำไปใช้เป็นพลังงานความร้อนในการผลิต
  2. ระบบโคเจเนอเรชั่นวัฏจักรล่าง คือ ระบบที่ใช้ความร้อนก่อนแล้วจึงใช้ความร้อนเหลือใช้ไปผลิตไฟฟ้า

 

ประเภทของการใช้งาน

    ระบบโคเจนเนอเรชั่นวัฏจักรบน จะเหมาะสมกับอุตสาหกรรมอาหาร กระดาษ สิ่งทอและโรงกลั่นน้ำมัน ส่วนระบบโคเจนเนอเรชั่นวัฏจักรล่างเหมาะสมกับอุตสาหกรรมที่ต้องใช้ความร้อนที่มีอุณหภูมิและความดันสูง เช่น ผลิตซีเมนต์ เหล็ก แก้ว และ เคมี

ประโยชน์ของเทคโนโลยี

  • ลดการใช้เชื้อเพลิงในการผลิตพลังงานลง
  • ไม่มีการสูญเสียในการส่งจ่ายพลังงาน
  • ลดปัญหาเกี่ยวกับมลภาวะ
  • ลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ
  • ลดภาระของภาครัฐบาลในการสร้างโรงงไฟฟ้า

ข้อพิจารณาในการนำมาใช้

  • อัตราส่วนความต้องการความร้อนต่อไฟฟ้า
  • คุณภาพของพลังงานความร้อนที่ต้องการ
  • ลักษณะการใช้ความร้อนและไฟฟ้าของโรงงาน และเวลาการใช้งาน
  • ชนิดของเชื้อเพลิงที่หาได้
  • ความต้องการของโหลดในอนาคต
  • ความแน่นอนของระบบที่ต้องการความน่าเชื่อถือสูง
  • ปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อม
  • อัตราค่าเชื้อเพลิง ค่าดำเนินการ ค่าบำรุงรักษา และค่าลงทุน

 

 

Some Questions

PAIN POINT

ประหยัดพลังงานสามารถลดการใช้เชื้อเพลิงลง 50-90% ประหยัดเชื้อเพลิงลงได้ 10-30% ซึ่งเมื่อเทียบกับระบบแยกผลิตในการผลิตความร้อนโดยทั่วไป จะมีประสิทธิภาพประมาณ 75% อีกทั้งยังช่วยในการลด peak load ของการไฟฟ้า ทำให้ช่วยลดภาระของการไฟฟ้าในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่

ระบบ cogeneration เป็นระบบที่ยุ่งยากซับซ้อนต่อการออกแบบติดตั้งและควบคุม จำเป็นต้องใช้ผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์มาดำเนินงาน ต้นทุน ค่าติดตั้งและค่าบำรุงรักษาค่อนข้างสูง หากติดตั้งระบบ ที่มีกำลังการผลิตไฟฟ้าหรือความร้อนเกินความต้องการใช้ อาจมีไอน้ำหรือไฟฟ้าเหลือ อาจเกิดความยุ่งยากในการจัดการกับพลังงานส่วนเกิน

หากต้องการคำแนะนำทางด้านการจัดการต่างๆที่เกี่ยวข้อง
กรุณาติดต่อ